วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานประจำสัปดาห์ที่ 2 แหล่งการเรียนรู้ต้นแบบของกระทรวงศึกษาธิการและตาม พรบ.

แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง แหล่ง หรือที่รวมสาระความรู้ อาจเป็นสถานที่ ศูนย์ข้อมูล ข่าวสาร สาระความรู้ หรือ บุคคล ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มาตรา 25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ระบุประเภทของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไว้ ดังนี้
1. ห้องสมุดประชาชน
2. พิพิธภัณฑ์
3. หอศิลป์
4. สวนสัตว์
5. สวนสาธารณะ
6. สวนพฤกษศาสตร์
7. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. ศูนย์กีฬาและนันทนาการ

ความต้องการใช้แหล่งเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงต้องการใช้ตรงกัน ทั้ง 4 ประเภท
1. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ อากาศ แสงแดด และดิน
2. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล สมาคม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นาท้องถิ่น
ศิษย์เก่า และคหบดีผู้ประสบความสาเร็จในอาชีพ
3. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน ได้แก่ วัด โบสถ์ สุเหร่าหรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สถานประกอบการ มหาวิทยาลัย และแหล่งเกษตรกรรม
4. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นเทคโนโลยี กิจกรรม วัฒนธรรม และประเพณี ได้แก่ กิจกรรม โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีพื้นบ้าน ตาราเอกสารทางวิชาการ ประเพณีและวัฒนธรรม
           ส่วนแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนผู้บริหารทุกโรงต้องการใช้ตรงกัน คือ ห้องสมุดโรงเรียน และรองลงมาเป็นสวนสมุนไพร ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องแนะแนว และพิพิธภัณฑ์ตามลาดับ

รูปแบบการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประกอบด้วย
1.การใช้แหล่งทรัพยากรเรียนรู้สาหรับการศึกษาในระบบ
     เป็นรูปแบบการใช้ที่มุ่งรูปแบบการศึกษาที่กาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล
2.การใช้แหล่งทรัพยากรเรียนรู้สาหรับการศึกษานอกระบบ
      เป็นรูปแบบการใช้แหล่งการเรียนรู้เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญของการสาเร็จการศึกษา
3.การใช้แหล่งทรัพยากรเรียนรู้สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
      เป็นรูปแบบการใช้แหล่งการเรียนรู้ ที่เน้นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม 
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เกิดจากแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่งนำโดย อาจารย์ดวงแก้วพิทยากร ศิลป์ ที่สนใจการสร้างหุ่นขี้ผึ้ง และศึกษาค้นคว้าทดลองเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงประสบความสำเร็จ สามารถสร้างหุ่น ขี้ผึ้งยุคใหม่จากไฟเบอร์กลาสที่มีความคงทน ประณีต งดงาม เหมือนคนจริงที่สุด จนคณะผู้ร่วมงานเห็นสมควรที่ จะสนับสนุนให้ก้าวหน้าต่อไป เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติและศิลปินไทย จึงเริ่มโครงการก่อตั้งพิพิธ ภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ไทยในปี พ.ศ. 2525 สำหรับเป็นสถานที่สร้างและจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส เพื่อการ อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีไทย อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชน โดยปัจจุบันมีหุ่นไฟเบอร์กลาสทั้งหมด 120 รูปอาคารพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยนี้เป็นอาคารสองชั้น โดยมีการจัด แสดง ด้วยกันสองชั้นคือ ชั้นล่าง จัดแสดงหุ่นชุดต่างๆ เช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงค์จักรี, พระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, ชุดพระอริยสงฆ์, ชุดมุมหนึ่งของชีวิต เป็นต้น


พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

 กลุ่มเป้าหมายหลัก / กลุ่มผู้เรียนหลัก *บุคคลทั่วไป
 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน/กลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ *มีการจัดการแสดง จัดนิทรรศการที่มีความเป็นระเบียบเข้าใจง่าย สะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า สาธิตการทำหุ่นขี้ผึ้งไทยที่มีความปราณีตสวยงามและดูเสมือนจริง มีความเป็นมาที่สามารถเข้าใจได้ง่าย มีจัดป้ายนิทรรศการได้ให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม บางครั้งมีมัคคุเทศน์คอยอธิบายความเป็นมา เพื่อเป็นการประกอบการบรรยายไปในตัว มีการจัดแบ่งห้องแสดงต่างๆตามความเหมาะสม และความเป็นระเบียบ
รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ *การจัดนิทรรศการ มีการแบ่งแยกสัดส่วนของห้องที่จะทำการแสดงหุ่นขี้ผึ้ง แบ่งเป็นโซนและห้องดังนี้ โซนแรกคือห้องจัดแสดงพระอริยสงฆ์ ซึ่งได้แก่ พระครูภาวนารังษี, พระธรรมญาณมุนี, พระโพธิญาณเถร, ครูบาชัยวงศาพัฒนา, หลวงจีนคณาณัติจีนพรต, พระมงคลเทพมุนี, พระราชสังวราภิมณฑ์, พระสุพรหมยานเถร, พระนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาจารย์, หลวงพ่อเกษม, สมเด็จพระพุฒาจารย์, พระครูวิมลคุณากร, พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์, พระอาจารย์มั่น, ครูบาศรีวิชัย ปั้นได้เหมือนจริงมาก 
 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ห้องแสดงต่อไปซึ่งถือเป็นไฮไลด์ของที่นี่ ห้องจัดแสดงพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงค์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 8 ล่ะ ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องจัดแสดงพระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทยนั่นเอง ภายในห้องนี้ประกอบไปด้วยประราชประวัติและ พระกรณียกิจต่างๆ และภาพงานพระราชพิธีสุดท้าย
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องหุ่นชุดครอบครัวไทย เป็นห้องแสดงสุดท้ายสำหรับห้องจัดแสดงชั้นล่าง ซึ่งเดินไป เดินมาจะมาออกที่ ด้านหน้าทางเข้า พวกเราก็เดินขึ้นชั้นสองกันต่อ ซึ่งห้องจัดแสดงชั้นบนแรกสุดจะเป็นการ จัดแสดงชุด 3 ครูไทยได้แก่ ครูจวงจันทร์ จันทร์คณา (บรมครูพรานบูรพ์) ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูไพบูลย์ บุตรขัน
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
เดินเข้าไปตามทางเดินเรื่อยๆ ห้องแสดงหุ่นชุดต่อไปคือ ชุด 3 บุคคลสำคัญของโลก ซึ่งได้แก่ มหาตมา คานธี, อับราฮัม ลินคอล์น, เซอร์ วินสตัน เชอรชิล เป็นต้น คานธีเป็นนักการเมืองที่ได้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศ จากการปกครองของอังกฤษทำให้โลก ต้องจดจำคานธี ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "มหาตมา" แปลว่า ผู้มีจิตใจ สูงส่ง เป็นบิดาแห่งประชาชนชาติอินเดีย อับราฮัม ลินคอล์น ผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา "รัฐบาลของ ประชาชนโดย "เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล เป็นวีรบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ ซึ่งทั้งสามท่านมีบทบาททางด้านการเมืองในแต่ละประเทศ โดยส่วนตัวแล้ว เราเองเป็น คนที่ไม่ค่อยมีความรู้
ข้อมูลทั่วไปพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
เปิดเข้าชมทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.30 น. วันเสาร์- อาทิตย์ ,วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 10 บาท พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักศึกษาในเครื่องแบบ 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 034 332 607 และ 034 332 109

มีวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียนอย่างไร *เหมาะกับผู้เรียนทุกวัย และผู้ที่สนใจการเรียนการศึกษาค้นคว้าในเรื่องของหุ่นขี้ผึ้งต่างๆ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีพ ได้ศึกษาได้ตลอด 
สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย ได้หรือไม่อย่างไร *เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการเปิดให้เยี่ยมชมได้ต่อเนื่อง ตั้งแต่เด็กถึงวัยชรา สามารถศึกษาได้ทุกเพศทุกวัย ศึกษาได้ตลอดชีพ เป็นความรู้ที่สามารถศึกษาได้ทุกเวลา มีการยืดหยุ่นของการศึกษา