วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 เรื่องพัฒนาสมองด้วยการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก



วันที่ 14 มิถุนายน 2553



Web Blog เป็นการฝากข้อมูล ความคิดเห็น หรือรูปภาพ เพลง วีดีโอ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ นานาน ฝากไว้บนระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่ม (Social network)
Blog - บทความของตนเอง
- การแสดงความคิดเห็น
- แลกเปลี่ยนการเรียนรู้

การเขียนBlog
1. เขียน Blog โดยนำเสนอเนื้อหาหรือเรื่องราวเพื่อทบทวนความคิด
2. เขียนในลักษณะความรู้
3. เขียนในลักษณะการนำความรู้ต่าง ๆ ที่สนใจและการนำไปใช้ซึ่งเป็นบทสะท้อน
4. เขียนในลักษณะมีการเชื่อมโยงกับข้อมูลที่อ้างอิงเชื่อถือได้
ที่มา:http://keng.com/2005/09/30/what-is-blog/

รูปภาพ:http://i8.photobucket.com/albums/a41/thedeath13/comblog.jpg


ความหมายของนวัตกรรม

"นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย

ความรู้สึกของข้าพเจ้าในการเรียนรู้

ได้เรียนเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา การทำBlog ที่อาจารย์ ดร. อุทิศ บำรุงชีพ เป็นผู้สอน ได้เรียนเรื่องเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ผ่านทางระบบสารสนเทศ และทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น สามารถนำไปเผยแพร่ต่อ เป็นการปฏิบัติการอย่างหนึ่ง

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 เรื่องชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2553


การชมภาพยนตร์ เรื่องครู้บานนอก บ้านหนองฮีใหญ่ ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตความเป็นครูที่ยากลำบากเนื่องจาก ครูต้องไปสอนในที่ที่ห่างไกลถิ่นธุระกันดาร การคมนาคมไม่ค่อยถึง เดินทางลำบาก แต่ด้วยความเป็นครูแล้ว คงไม่มีอะไรยากลำบากสำหรับความเป็นครู ความเป็นครูในภาคอีสานที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 มีสาระความรู้ที่ได้ดังนี้
<1.> ทำให้ทราบปัญหาทางการศึกษา ได้แก่
- ปัญหาความยากจน
- การขาดบุคลากร
- ปัญหาการขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน

- การขาดแคลนอาคารสถานที่ในการเรียนการสอน

- ปัญหาเรื่องความก่างไกลจากถิ่นธุระกันดาร

- ปัญหาของคนที่ไม่อยาหเป็นครูแต่ต้องมาเป็นครู

- ปัญหาความยากจน

- ปัญหาของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น

<2.> ทำให้ทราบเทคโนโลยีการศึกษาในสมัย พ.ศ. 2520

- นักเรียนส่วนใหญ่ใช้กระดานชนวนวในการบันทึกข้อมูลการเรียนการสอน ที่คุณครูสอน

- ครูได้ใช้สื่อบทกลอนในการสอนนักเรียน

- มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นภาษาไทยที่ทำจากกระดาษ

- มีการเรียนจากสื่อสถานที่จริง เช่น เรื่องทรัพยากรป่าไม้

- สื่อสิ่งพิมพ์ในการนำเสนอเรื่องราวข่าวสาร อย่างเช่น หนังสือพิมพ์

- สื่อภาพถ่าย

- สื่อจากนิทาน

- การนำเอาวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นรุปสัตว์ เช่น นกจากใบมะพร้าว



สรุปว่า จากเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นนั้นทำให้ข้าพเจ้าทราบถึงปัญหาต่าง ๆ เช่นการศึกษา ความเป็นอยู่ แต่อย่างน้อย ก็มีครูที่สามารถให้ความรู้แก่เด็กต่าง ๆ เหล่านั้น ให้เขามีความรู้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าครูจะน้อยแต่ว่าคุณภาพของครูไม่ได้น้อยลงตามจำนวนเลย และพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา และขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ว่า เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่าง ๆให้มีประสิทธิภาพ

2. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
- การออกแบบ Design
- การพัฒนา Development
- การใช้ Utilization
- การจัดการ Management
- การประเมิน Evaluation
http://richey.exteen.com/

3. พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

ที่มา : http://www.kroobannok.com/1574




รูปภาพ : http://www.kbyala.ac.th/web-subject/web-tec/pen/my%20web/it-4/mywebpen/images/51595%5B1%5D.gif

กิจกรรมสัปดาห์ที่1 เรื่องเปิดโลกหลักและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการค้บคว้า IT

-----การเรียนวิชาหลักและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาวิชา423210 ข้าพเจ้านางสาวปิยากร มีความคาดหวังดังนี้

1. ข้าพเจ้าได้ทราบแนวทางและความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาจากที่บางสิ่งข้าพเจ้าไม่รู้แต่ก็ได้รู้อย่างมากยิ่งขึ้น

2. ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แบบแปลกใหม่ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน

3. ทำให้ได้สนุกกับการเรียนมากขึ้น ได้ไปศึกษานอกห้อง คือได้ไปสำนักหอสมุด ได้เจอการเรียนการสอนแบบใหม่

กิจกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำในวันนี้รู้สึกตื่นเต้นและมีความสุขมากเนื่องจากอาจารย์ ดร. อุทิศ บำรุงชีพ ได้พาไปศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมจากสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพาhttp://www.lib.buu.ac.th/ ซึ่งเป็นหอสมุดอีกแห่งหนึ่งที่ใหญ่เช่นกัน ทั้งหมดมี 7 ชั้น บรรยากาศด้านในหอสมุดสวยงามและน่าเข้ามาก ซึ่งข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ได้รับความจากบุคลากรของสำนักหอสมุดดังนี้

<1.> ได้ทราบวิธีการยืม-คืน หนังสือห้องสมุด
<2.> แต่ละชั้น มีอย่างไรบ้าง และทำอะไรได้บ้าง อย่างเช่น ชั้น 6 จะเป็นการยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์/สื่อโสตทัศน์ เป็นต้น
<3.> การสืบค้นข้อมลOPAC และการเข้าฐานข้อมูลต่าง ๆ ว่าเข้าไปแล้วเป็นอย่างไร
<4.> การใช้โปรแกรม VPN เป็นโปรแกรมที่ข้าพเจ้าไปไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่พอข้าพเจ้าได้เข้ามาเรียน ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น
<5.> มีความสุขและประทับใจมากที่ได้เข้าไปทัวร์ในสำนักหอสมุด เป็นที่ที่สามารถเข้าไปรับความรู้ได้อย่างเต็มที่ และบรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบสงบ และประทับใจในตัวอาจารย์ ดร. อุทิศ บำรุงชีพ เป็นอย่างมาก ท่านสามารถให้ความรู้เราได้มากทีเดียว ทำให้ได้ไปเรียนรู้นอกห้องเรียน

ฮัลโหล ทุกๆคน