วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 14 เรื่องดูหนัง ที่หอสมุด ชั้น 6 มินิโฮมเธียเตอร์

วันนี้อาจารย์อุทิศให้ดูหนัง 2 เรื่องด้วยกัน
เรื่องแรก คือ เรื่อง คำน้อย
เรื่องที่สอง คือ ทองล้นหลัง
สองเรื่องนี้เป็นละคร ฟื้นฟูคุณธรรมโลก

เรื่องแรก คำน้อย
- เรื่องนี้สนุกมากเลย ข้าพเจ้าดูแล้วแทบร้องไห้ เพราะการที่คนเราจะทำอะไรเพื่อใครไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล ถ้าเราทำออกมาด้วยใจ คำน้อยเป็นคนดีมาก ตัวคำน้อยเองก็ไม่รู้หนังสือเลยแต่พยายามดิ้นรนจะเรียนหนังสือให้ได้แต่ว่า พี่สงวนไม่ให้เรียน แค่สอนตั้ม กับ ติให้เป็นคนดีก็พอ พี่สงวนและคำน้อยชอบทำบุญตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอนเสมอ เป็นคนดีเสมอ ในช่วงแรกที่ตั้มไม่ชอบคำน้อยแต่ในที่สุดตอนหลังก็เริ่มชอบคำน้อย เพราะยอมแพ้ความดีของคำน้อย ต่อจากนั้นตั้มก็เริ่มทำดีกับคำน้อยและทำบุญตักบาตรด้วยกันทุกวัน มาวันหนึ่งพี่สงวนชวนครอบครัวไปทำบุญกับทัวร์ แต่ว่าคำน้อยมีลางไม่ดีเลยไม่อยากไปแต่ว่า ก็ต้องไปเพราะพี่สงวนขอ ระหว่างเดินทางไปทำบุญก็มีความสุขดี แต่พอถึงช่วงขากลับพี่สงวนสั่งเสียคำน้อยไว้อย่างดีเลย คำน้อยก็เริ่มใจไม่ดี แต่แล้วก็เกิดอุบัติเหตุขึ้น รถคว่ำ พี่สงวนเสียชีวิต คำน้อยถูกตัดขาทั้งสองข้าง เพราะกระดูกแหลกละเอียด คำน้อยต้องต่อสู้ชีวิตโดยไม่มีขาสองข้าง และต้องเลี้ยงลูกอีกสองคน แต่ในที่สุดคำน้อยก็สู้ชีวิต จนตัวเองมีเงินสามารถตั้งตัวได้ เนื่องจากมีความตั้งใจและศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้คำน้อยมีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป

เรื่องที่สอง ทองล้นหลัง
- ก่อเป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัวนี้ มาวันหนึ่งอาจารย์ได้มาเสนอให้นักเรียนทุกคนทำสมุดความดี แล้วก่อก็เป็นคนแรกที่จะทำสมุดความดี แล้วเพื่อน ๆ ก็ตามมาเรื่อย ๆ พ่อของก่อเป็นคนที่ไม่ค่อยจะชมก่อเท่าไหร่ แต่ก่อก็ไม่ลดละความพยายามของตนที่จะทำความดีต่อไป ความดีทำแล้วไม่ควรอาย เราทำชั่วสิน่าอายที่สุด ก่อเริ่มไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอน อ่านหนังสือธรรมะก่อนนอนทุกคืน ช่วยเก็บกวาดบ้านเวลาบ้านสกปรก แม่เองก็จะคอยชมและให้กำลังใจก่ออยู่เสมอ พ่อของก่อเองก็แอบดีใจที่ลูกตัวเองที่แต่ก่อนไม่เคยทำแต่พอมาทำพ่อก็แอบดีใจ แต่แล้วพ่อของก่อก็เกิดปัญหาอย่างรุนแรงในเมื่อคนเขียนภาพไม่อยากทำงานต่อ แม่ก็เลยไปขอความเห็นจากครู ครูก็เลยมาบอกต่อ ต่อนักเรียนให้ไปช่วยงาน นักเรียนก็เริ่มไปช่วยจนงานเขียนฝาผนังโบสถ์ พ่อของเองก็ภูมิใจมากที่ลูกตัวเองทำดีได้ขนาดนี้ พ่อก็เลยเดินเข้ามาชมจากที่ปกติไม่กล้าพูด แต่มาวันนี้พ่อก็ได้พูดให้ก่อได้รู้สึกดีและมีกำลังใจมากขึ้น พ่อเซนต์สมุดความดีให้ก่อ และครอบครัวนี้ก็มีความสุขร่วมกัน

ประทับใจมากที่อาจารย์มีหนังให้ดู ชอบทั้งสองเรื่องเลย ดูแล้วสนุกดีและทำให้เราสามารถเข้าใจอะไรได้หลายอย่าง ทั้งความรักที่มีให้ ความดีที่ต้องทำ หลายอย่างถ้าเราคิดจะทำอะไรซักอย่างที่เป็นสิ่งที่ดีก็ให้เราควรรีบทำในตอนนี้ ก่อนที่เราจะไม่มีโอกาสได้ทำมันอีกต่อไป เพราะถ้าเราสูญเสียอะไรไปแล้วในบางสิ่งไปม่สามารถนำกลับมาได้อีก อย่างเช่น บอกรักแม่ ทำดีให้ท่านตลอด ทำให้ท่านภูมิใจ ก็ขอบคุณอาจารย์มากที่พาข้าพเจ้ามาดูหนังสองเรื่องนี้ ชอบมากเลยค่ะ

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 13 เรื่องการนำเสนอ ผลงาน Mind Manager

ในวันนี้อาจารย์ให้ แต่ละคู่ นำเสนอผลงาน Mind Manager ที่แต่ละคู่ได้ทำมานำเสนอ ทั้งหมดมีหลายคู่มาก และแต่ละก็มีรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน เนื้อหามากน้อยต่างกัน ส่วนมากเนื้อหาก็จะครอบคลุมได้ใจความดีเช่นกัน เป็นวันที่สนุกและได้ความรู้มากมายในเรื่องการเรียนหลักและทฤษฐีมาเลย เพราะบางครั้งเราก็ลืมเรื่องที่เรียนไปเนื้อหาที่อาจารย์สอนก็หายไปพอออกนอกห้องเรียน ได้กลับมาย้ำความรู้อีกรอบก็รู้สึกดีเช่นกัน เพราะบางครั้งเราก็ไม่ได้จดเนื้อหาพวกนี้ลงในสมุดเรา ถ้าเราได้ทำแบบนี้เยอะ ๆ และประจำสามารถช่วยให้เราได้จดจำมากยิ่งขึ้น บางทีเราไม่ต้องจดก็ได้ ทำเป็นแบบรายงานหรือตามโปรแกรมที่เคยเรียนมา เอาเนื้อหามารวบรวมกันแล้วทำเป็นฟอร์มเดียวกัน ก็สะดวกสบายในการอ่านและจดจำ แต่ถ้าบางคน ถนัดจดจำก็ไม่เป็นไร แล้วแต่คน

ประทับใจในตัวอาจารย์อุทิศ มากเพราะ ท่านได้ให้เราได้ทำอะไรหลายที่อย่างที่เราไม่เคยทำ ทำงานทางโปรแกรมส่ง มีโปรแกรมใหม่ ๆ แปลก ๆ มาให้ได้ลองใช้ เสมอ ตัวข้าพเจ้าเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องโปรแกรมเท่าไหร่ แต่พอมาได้เรียน ได้รู้ ก็สนุกดี และประทับใจมาก ก็ขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อะไรมากมายในเรื่องนี้

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 12 เรื่องเทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัยผ่านVideo Conference


วันที่ 23 สิงหาคม 2553

- เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัยผ่านVideo Conference
- ศึกษาดูงานระบบ Video Conference


ในสัปดาห์นี้เราได้ไปเรียนที่สำนักคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยบูรพา ในวันนี้มีวิทยากรได้มาให้ความรู้เรื่งการใช้สำนักคอมพิวเตอร์
และ ระบบประชุมทางไกล video conferent และ video on demand ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการใช้แล้วตามมหาวิทยาลัย และสำนักงานต่างๆ จะช่วยประหยัดในเรื่องของค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเดินทาง ประหยัดเวลา ที่อยู่ เป็นต้น และยังลดการเกิดอุบัติเหตุในการเดินทางได้อีกด้วย

และยังมีการนำเอาระบบe-learning มาใช้ในการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ มากขึ้น และได้รู้เรื่องเกี่ยวกับส่วนประกอบของ e-Learning และส่วนอื่น ๆ อีกอย่าง ในวันนี้เราได้เข้าชมห้อง radio ของมหาวิทยาลัยบูรพา มีพี่ๆเทคโนโลยีการศึกษา ค่อยแนะนำขั้นตอนในการทำงาน และได้ลองเข้าไปดูห้องอัดอีกด้วย

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 11 เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา การใช้โปรแกรมผังความคิด

วันที่ 16 สิงหาคม 2553

- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
- การใช้โปรแกรมผังความคิด
การใช้โปรแกรม Mind Manager เป็นโปรแกรมที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นและไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งนี้เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าเคยเห็นและเคยทำเพราะได้การแนะนำและสอนมาจากอาจารย์ ซึ่งดูแล้วเป็นโปรแกรมที่ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน เวลาทำรายงานหรือทำผังความคิดที่เราได้รับมอบหมายจากอาจารย์ เราก็สามารถทำได้เพราะได้รับการแนะนำและอาจารย์ได้สอนการใช้โปรแกรมนี้โดยเฉพาะ เวลาที่เรานำเสนองานก็เป็นชิ้นงานที่เราทำแล้วแปลกจากคนอื่น เพราะบางคนใช้Power Point ในการนำเสนองาน แต่เราใช้ Mind Manager ใมการนำเสนองาน
และโปรแกรมสามารถแปลง Mind Map ให้เป็นเอกสารชนิดอื่นยกตัวอย่างเช่น HTML, เอกสาร MS PowerPoint หรือ เอกสาร MS Word ได้
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเรามาก


กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา มีั ดังนี้

- พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)

- พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

และจำเป็นต้องมีกฏหมายออกมาเพื่อป้องกันการละเมิดต่างๆ เพราะปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำบัญชี หรือใช้ในระบบต่างๆของบริษัท บางคนก็นำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ โหลดเพลง โหลดหนัง ต่างๆ สื่อลามกอนาจาร เป็นต้น

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 10 เรื่องแนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 9 สิงหาคม 2553

-แนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา
- การสืบค้นข้อมูลวิจัย

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้เราได้ฝึกการสืบค้นข้อมูลการวิจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยการเรียน การสอน โดยมีเว็บไซต์หรือโปรแกรมให้เรามาได้สืบค้นกัน แล้วทำแบบทดสอบ เพื่อเป็นการฝึกตัวเรา ว่าเราสามารถปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน

มีการศึกษาค้นคว้าแนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยให้เราได้ศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อให้เราได้มีความรู้เพิ่มเติมจากเดิมทีมีอยู่ เพราะการที่เราได้ศึกษาแนวโน้มก็ถือเป็นประสบการณ์ความรู้อย่างหนึ่งที่บางที่เราไม่สามารถรู้ได้เลย แต่ตอนนี้เราสามารถรู้ได้เพราะเราได้เรียนรู้ได้ศึกษาจาอกาจารย์ผู้สอน หรือว่าจากอาจารย์ ที่สามารถให้ความรู้เราได้อย่างเต็มที่


กิจกรรมสัปดาห์ที่ 9 เรื่องการสอบ

เป็นการสอบระหว่างภาคเรียน

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 8 เรื่องแนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 19 กรกฎาคม 2553

-แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษา
-การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ในสัปดาห์นี้ ทราบถึงการเรียนการสอนที่สามารถโยงถึงแนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษา ได้รู้ว่าในโลกสังคมแห่งการสื่อสารส่งผลกระทบให้เทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปท่ามกลางกระแสของสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นการศึกษาจึง
ได้รับผลกระทบเช่นเดียกันกับเทคโนโลยีการศึกษาได้พัฒนาก้าวหน้าตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษาอาจได้แก่ การเรียนการสอนในและนอกระบบ มีสภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย ซึ่งทำให้เราได้รู้เรื่องต่าง ๆ มากมาย จากการเรียนในวันนี้ และยังมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีความว่าอย่างไร เราก็สามารถได้รู้ในการเรียนในวันนี้
ส่วนการผลิตสื่อด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปนั้น เราสามารถสืบค้นด้วยตนเองหรือว่าเราจะศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนกะได้ เรื่องนี้สามารถเข้าใจง่ายถ้าเราตั้งใจ เป็นการผลิตสื่อโดยมีโปรแกรมที่อาจารย์ให้มาก็อย่างเช่นที่เราทำไป ก็มี Ulead ซึ่งเป็นการทำวีดีโอที่เราสามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์ของเราลงไปได้ โดยดูจากรูปแบบที่เราวางไว้ คือเราได้มีการทำบทไว้ก่อน แล้วเราจึงมาลงมือปฏิบัติ

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 7 เรื่องการใช้โปรมแกรมUlead Video Studio และ จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อ

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2553

กิจกรรมการเรียนในวันนี้ เป็นกิจกรรมที่อาจารย์ได้ให้งานที่แปลกใหม่ สำหรับบางคนที่ยังไม่เคยทำ คิดว่าคงได้ทำและได้เรียนรู้ในวันนี้ และต่อ ๆ ไป อาจารย์ให้ลงโปรแกรมและให้เรียนรู้เกี่ยวกับโปรมแกรมUlead Video Studio ได้ทำงานที่ต้องเกี่ยวกับโปรแกรมตัวนี้ แต่บางคนอาจจะได้เคยเรียนมาแล้วจากโรงเรียนเดิมของตน และในการทำงานครั้งนี้ต้องมีการวางแผนลวงหน้าด้วย เพราะในการทำผลิตสื่อมัลติมีเดียครั้งนี้ยังสามรถนำไปเขียนบทได้อีกด้วย วันนี้เป็นกิจกรรมที่สนุกมากเพราะสำหรับข้าพเจ้าได้เรียนรู้โปรแกรมที่ยังไม่เคยเล่น ไม่เคยทำมาก่อน และข้อมูลเหล่านี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 6 เรื่อง หลักและทฤษฎีของศิลปะกับงานเทคโนโลยีการศึกษา

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม 2553


วันนี้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงหลักและทฤษฎีของศิลปะกับงานเทคโนโลยีการศึกษาว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร สัมพันธ์

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 6 เรื่อง หลักและทฤษฎีของศิลปะกับงานเทคโนโลยีการศึกษา

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม 2553



วันนี้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงหลักและทฤษฎีของศิลปะกับงานเทคโนโลยีการศึกษาว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร สัมพันธ์กันยังไง
1. ทางด้านศิลปะเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทางการศึกษาหลายทาง อย่างเช่นนำมาทำเป็นภาพประกอบตกแต่งทางด้านเทคโนโลยีได้



2. ทราบว่าการศึกษาทางด้านหลักและทฤษฎีของศิลปะสามารถทำให้เรามีการฝึกการมีสมาธิไปในตัวด้วย เพราะศิลปะเองนั้นเป็นศาสตร์ที่ว่ด้วยการฝึกสมาธิ ฝึกความนิ่ง ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เรามีจินตาการที่ก้าวไกล และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น



3. และวันนี้เป็นวันที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลงานจากครั้งก่อนที่เราได้ไปศึกษานอกสถานที่(สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล) และแต่ละกลุ่มก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำเสนอผลงานและอธิบายงานของกลุ่มตนเองได้อย่างมีหลักการและเหตุผล ความคิดของแต่ละกลุ่มก็แตกต่างกันไป มีรูปแบบไม่ซ้ำกัน



4. ได้เรียนรู้เรื่องวัสดุกราฟฟิก และเรื่องของแผนภูมิแบบต่าง ๆ ว่ามีความสำคัญมีการใช้อย่างไร



5. อาจารย์ ว่าที่เรือตรี ดร.อุทิศ บำรุงชีพ ได้ให้งานฝึกปฏิบัติการเขียนตัวอักษรพิ้นฐานด้วยปากกาหัวตัดมาเป็นการบ้าน ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ไม่ถนัดแต่ว่าชอบทางด้านการเขียน ถึงแม้ว่าอาจจะเขียนไม่ค่อยสวยแต่ว่าก็ชอบ เพราะถ้าได้ฝึกเขียนตัวอักษรแบบนี้ด้วยปากกาหัวตัด แล้วเป็นตัวอักษรที่สวยงาม ก็ต้องพยายามให้ดีที่สุด เพราะงานที่เราได้รับมอบหมาย ต้องทำให้ดีที่สุด



สรุปว่า ในสัปดาห์นี้เป็นอีกสัปดาห์ที่ข้าพเจ้าได้เรียนอย่างมีความสุข และสนุกกับการเรียน เนื่องจากมีการบ้านที่ไม่ยากเท่าไรสำหรับตัวข้าพเจ้าเอง และอาจเป็นแนวที่ข้าพเจ้าชอบ เพราะมีเรื่องศิลปะมาเกี่ยวข้อง ได้เรียนผ่านทางเทคโนโลยี คือ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเรียนครั้งนี้ด้วย มีการทำงานส่งผ่านทางE-Learning ซึ่งดูแล้วง่ายมากแต่ถ้าเราไม่รอบคอบก็อาจผิดพลาดได้ง่ายมาก และอีกอย่างที่เราเรียนเทคโนโลยีสามารถฝึกสมาธิเราอีกได้อย่างหนึ่งด้วย

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 เรื่อง การศึกษานอกสถานที่(สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล)


วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2553

การไปศึกษานอกสถานที่(สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล)http://www.bims.buu.ac.th/
ข้าพเจ้ารู้สึกมีความสุขมากที่ได้ไปศึกษานอกสถานที่ เป็นที่ที่สวยงาม มาก บรรยากาศโดยรอบสดชื่นมาก
ความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับมีดั้งนี้

1. เรื่องสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น สื่อวัสดุกราฟฟิก สื่อวัสดุ 3 มิติ เป็นต้น

2. ประวัติของปลาและสัตว์น้ำแต่ละประเภท ว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีความสำคัญ และมีโทษกับไม่มีโทษอย่างไร เราสามารถรู้ได้หมด โดยมีวิยากรมาคอยแนะนำ และเป็นมัคคุเทศก์

3. ได้่เที่ยวชม เป็นการเรียนนอกสถานที่ ที่ดีมาก รู้สึกสนุก และรู้สึกตื่นเต้น

4.

http://www.sanooktour.com/admin/images_total/travel_78.jpg

5. รู้จักลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์ ที่เป็นนามธรรมที่สุด(Abstract Concrete Continuum) เรียกว่า "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experience) ดังแผนภูมิ


6. ได้ดูปลาสวยงาม และปลาน่ารัก ๆ เป็นการเรียนนอกสถานที่ที่สนุกและได้รับความรู้มากด้วย

สรุปว่า จากการที่ได้ไปศึกษานอกสถานที่ ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สนุกมากและได้ความรู้หลายเรื่อง ทั้งเรื่งความเป็นมา ของปลา หรือสัตว์น้ำชนิดอื่น รู้การอยู่อาศัยของปลาแต่ละชนิดว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ประทับใจในตัวอาจารย์อุทิศมาก ที่ได้พานิสิตไปเที่ยวชมและศึกษาที่ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ทีี่ 4 เรื่องการไปศึกษานอกสถานที่(วิทยาศาสตร์ทางทะเล)

วันที่ 21 มิถุยายน 2553

การไปศึกษานอกสถานที่ ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
1. ได้ทราบว่ามีสื่อบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่เคยเจอ แต่ก็ได้เจอ อย่างเช่น สื่อป้ายโฆษณา แปลกๆ แต่มีมัคคุเทศก์ คอยให้คำแนะนำ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4 เรื่องการใช้E-learningมหาวิทยาลัยบูรพา


วันจันทร์ ที่ 21 มิถุนายน 2553

1.1 องค์ประกอบการสื่อสารมีอะไรบ้าง ประกอบด้วย

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (soure) อาจจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูลและเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน

2. สาร (Message) เนื้อหาเรื่องราว ได้แก่ ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ เป็นต้น เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านั้น

3. ช่องทาง (Channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลาง ที่ข่างสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำ สัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะ ให้ข่าวสาร ข้ามจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง

4. ผู้รับ (Receiver) หมายถึง สิ่งที่เกิดจากการที่ผู้ส่ง ส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้น คือ การที่ผู้รับอาจนมีความเข้ใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร

5. ผล(Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดจากการที่ผู้ส่ง ส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้น คือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจ หรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่องสาร

6. ผลย้อนกลับ(Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผล ซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่ง โดยผู้รับอาจแสดง อาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า ส่ายหน้า เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่

http://i114.photobucket.com/albums/n270/mhajoy_2006/worknitnot/d.jpg


1.2 ให้นิสิตอธิบายถึงช่องทางในการสื่องสาร การเรียนการสอนในวันนี้
วันนี้ อาจารย์ ดร.อุทิศ บำรุงชีพ ได้นำพวกเราเข้าสู่ระบบ E-learning ของมหาวิทยาลัยบูรพาโดยให้นิสิต
1. เข้าสู่หน้าเว็บหลักของมหาวิทยาลัยบูรพา www.buu.ac.th
2. เข้าสู่ link E-learning http://ncourse.buu.ac.th/
3. ลงชื่อเข้าสู่ระบบด้วยรหัสนิสิต
4. แก้ไขประวัติส่วนตัว (ใส่รูปภาพโปรไฟล์,ใส่ที่อยู่ จังหวัด ประเทศ)
5. เลือกรายวิชา 423210 Principle and Theory in Education Technology (ว่าที่เรือตรี ดร. อุทิศ บำรุงชีพ) (ถ้าระบบต้องการให้ใส่รหัส กรอกรหัส 423210)
6. รวมทั้งการใช้ Microsoft Powerpoint

1.3 ให้เขียนชื่อ URL Blog ของนิสิตที่สมัคร eblogger
http://piyakorn53540364.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 เรื่องพัฒนาสมองด้วยการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก



วันที่ 14 มิถุนายน 2553



Web Blog เป็นการฝากข้อมูล ความคิดเห็น หรือรูปภาพ เพลง วีดีโอ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ นานาน ฝากไว้บนระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่ม (Social network)
Blog - บทความของตนเอง
- การแสดงความคิดเห็น
- แลกเปลี่ยนการเรียนรู้

การเขียนBlog
1. เขียน Blog โดยนำเสนอเนื้อหาหรือเรื่องราวเพื่อทบทวนความคิด
2. เขียนในลักษณะความรู้
3. เขียนในลักษณะการนำความรู้ต่าง ๆ ที่สนใจและการนำไปใช้ซึ่งเป็นบทสะท้อน
4. เขียนในลักษณะมีการเชื่อมโยงกับข้อมูลที่อ้างอิงเชื่อถือได้
ที่มา:http://keng.com/2005/09/30/what-is-blog/

รูปภาพ:http://i8.photobucket.com/albums/a41/thedeath13/comblog.jpg


ความหมายของนวัตกรรม

"นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย

ความรู้สึกของข้าพเจ้าในการเรียนรู้

ได้เรียนเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา การทำBlog ที่อาจารย์ ดร. อุทิศ บำรุงชีพ เป็นผู้สอน ได้เรียนเรื่องเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ผ่านทางระบบสารสนเทศ และทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น สามารถนำไปเผยแพร่ต่อ เป็นการปฏิบัติการอย่างหนึ่ง

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 เรื่องชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2553


การชมภาพยนตร์ เรื่องครู้บานนอก บ้านหนองฮีใหญ่ ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตความเป็นครูที่ยากลำบากเนื่องจาก ครูต้องไปสอนในที่ที่ห่างไกลถิ่นธุระกันดาร การคมนาคมไม่ค่อยถึง เดินทางลำบาก แต่ด้วยความเป็นครูแล้ว คงไม่มีอะไรยากลำบากสำหรับความเป็นครู ความเป็นครูในภาคอีสานที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 มีสาระความรู้ที่ได้ดังนี้
<1.> ทำให้ทราบปัญหาทางการศึกษา ได้แก่
- ปัญหาความยากจน
- การขาดบุคลากร
- ปัญหาการขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน

- การขาดแคลนอาคารสถานที่ในการเรียนการสอน

- ปัญหาเรื่องความก่างไกลจากถิ่นธุระกันดาร

- ปัญหาของคนที่ไม่อยาหเป็นครูแต่ต้องมาเป็นครู

- ปัญหาความยากจน

- ปัญหาของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น

<2.> ทำให้ทราบเทคโนโลยีการศึกษาในสมัย พ.ศ. 2520

- นักเรียนส่วนใหญ่ใช้กระดานชนวนวในการบันทึกข้อมูลการเรียนการสอน ที่คุณครูสอน

- ครูได้ใช้สื่อบทกลอนในการสอนนักเรียน

- มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นภาษาไทยที่ทำจากกระดาษ

- มีการเรียนจากสื่อสถานที่จริง เช่น เรื่องทรัพยากรป่าไม้

- สื่อสิ่งพิมพ์ในการนำเสนอเรื่องราวข่าวสาร อย่างเช่น หนังสือพิมพ์

- สื่อภาพถ่าย

- สื่อจากนิทาน

- การนำเอาวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นรุปสัตว์ เช่น นกจากใบมะพร้าว



สรุปว่า จากเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นนั้นทำให้ข้าพเจ้าทราบถึงปัญหาต่าง ๆ เช่นการศึกษา ความเป็นอยู่ แต่อย่างน้อย ก็มีครูที่สามารถให้ความรู้แก่เด็กต่าง ๆ เหล่านั้น ให้เขามีความรู้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าครูจะน้อยแต่ว่าคุณภาพของครูไม่ได้น้อยลงตามจำนวนเลย และพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา และขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ว่า เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่าง ๆให้มีประสิทธิภาพ

2. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
- การออกแบบ Design
- การพัฒนา Development
- การใช้ Utilization
- การจัดการ Management
- การประเมิน Evaluation
http://richey.exteen.com/

3. พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

ที่มา : http://www.kroobannok.com/1574




รูปภาพ : http://www.kbyala.ac.th/web-subject/web-tec/pen/my%20web/it-4/mywebpen/images/51595%5B1%5D.gif

กิจกรรมสัปดาห์ที่1 เรื่องเปิดโลกหลักและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการค้บคว้า IT

-----การเรียนวิชาหลักและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาวิชา423210 ข้าพเจ้านางสาวปิยากร มีความคาดหวังดังนี้

1. ข้าพเจ้าได้ทราบแนวทางและความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาจากที่บางสิ่งข้าพเจ้าไม่รู้แต่ก็ได้รู้อย่างมากยิ่งขึ้น

2. ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แบบแปลกใหม่ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน

3. ทำให้ได้สนุกกับการเรียนมากขึ้น ได้ไปศึกษานอกห้อง คือได้ไปสำนักหอสมุด ได้เจอการเรียนการสอนแบบใหม่

กิจกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำในวันนี้รู้สึกตื่นเต้นและมีความสุขมากเนื่องจากอาจารย์ ดร. อุทิศ บำรุงชีพ ได้พาไปศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมจากสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพาhttp://www.lib.buu.ac.th/ ซึ่งเป็นหอสมุดอีกแห่งหนึ่งที่ใหญ่เช่นกัน ทั้งหมดมี 7 ชั้น บรรยากาศด้านในหอสมุดสวยงามและน่าเข้ามาก ซึ่งข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ได้รับความจากบุคลากรของสำนักหอสมุดดังนี้

<1.> ได้ทราบวิธีการยืม-คืน หนังสือห้องสมุด
<2.> แต่ละชั้น มีอย่างไรบ้าง และทำอะไรได้บ้าง อย่างเช่น ชั้น 6 จะเป็นการยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์/สื่อโสตทัศน์ เป็นต้น
<3.> การสืบค้นข้อมลOPAC และการเข้าฐานข้อมูลต่าง ๆ ว่าเข้าไปแล้วเป็นอย่างไร
<4.> การใช้โปรแกรม VPN เป็นโปรแกรมที่ข้าพเจ้าไปไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่พอข้าพเจ้าได้เข้ามาเรียน ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น
<5.> มีความสุขและประทับใจมากที่ได้เข้าไปทัวร์ในสำนักหอสมุด เป็นที่ที่สามารถเข้าไปรับความรู้ได้อย่างเต็มที่ และบรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบสงบ และประทับใจในตัวอาจารย์ ดร. อุทิศ บำรุงชีพ เป็นอย่างมาก ท่านสามารถให้ความรู้เราได้มากทีเดียว ทำให้ได้ไปเรียนรู้นอกห้องเรียน

ฮัลโหล ทุกๆคน