วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 เรื่องชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2553


การชมภาพยนตร์ เรื่องครู้บานนอก บ้านหนองฮีใหญ่ ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตความเป็นครูที่ยากลำบากเนื่องจาก ครูต้องไปสอนในที่ที่ห่างไกลถิ่นธุระกันดาร การคมนาคมไม่ค่อยถึง เดินทางลำบาก แต่ด้วยความเป็นครูแล้ว คงไม่มีอะไรยากลำบากสำหรับความเป็นครู ความเป็นครูในภาคอีสานที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 มีสาระความรู้ที่ได้ดังนี้
<1.> ทำให้ทราบปัญหาทางการศึกษา ได้แก่
- ปัญหาความยากจน
- การขาดบุคลากร
- ปัญหาการขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน

- การขาดแคลนอาคารสถานที่ในการเรียนการสอน

- ปัญหาเรื่องความก่างไกลจากถิ่นธุระกันดาร

- ปัญหาของคนที่ไม่อยาหเป็นครูแต่ต้องมาเป็นครู

- ปัญหาความยากจน

- ปัญหาของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น

<2.> ทำให้ทราบเทคโนโลยีการศึกษาในสมัย พ.ศ. 2520

- นักเรียนส่วนใหญ่ใช้กระดานชนวนวในการบันทึกข้อมูลการเรียนการสอน ที่คุณครูสอน

- ครูได้ใช้สื่อบทกลอนในการสอนนักเรียน

- มีการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นภาษาไทยที่ทำจากกระดาษ

- มีการเรียนจากสื่อสถานที่จริง เช่น เรื่องทรัพยากรป่าไม้

- สื่อสิ่งพิมพ์ในการนำเสนอเรื่องราวข่าวสาร อย่างเช่น หนังสือพิมพ์

- สื่อภาพถ่าย

- สื่อจากนิทาน

- การนำเอาวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นรุปสัตว์ เช่น นกจากใบมะพร้าว



สรุปว่า จากเรื่องราวดังกล่าวข้างต้นนั้นทำให้ข้าพเจ้าทราบถึงปัญหาต่าง ๆ เช่นการศึกษา ความเป็นอยู่ แต่อย่างน้อย ก็มีครูที่สามารถให้ความรู้แก่เด็กต่าง ๆ เหล่านั้น ให้เขามีความรู้เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าครูจะน้อยแต่ว่าคุณภาพของครูไม่ได้น้อยลงตามจำนวนเลย และพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา และขอบข่ายงานเทคโนโลยีการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ว่า เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่าง ๆให้มีประสิทธิภาพ

2. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
- การออกแบบ Design
- การพัฒนา Development
- การใช้ Utilization
- การจัดการ Management
- การประเมิน Evaluation
http://richey.exteen.com/

3. พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

ที่มา : http://www.kroobannok.com/1574




รูปภาพ : http://www.kbyala.ac.th/web-subject/web-tec/pen/my%20web/it-4/mywebpen/images/51595%5B1%5D.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น