วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

งานประจำสัปดาห์ที่ 2 แหล่งการเรียนรู้ต้นแบบของกระทรวงศึกษาธิการและตาม พรบ.

แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง แหล่ง หรือที่รวมสาระความรู้ อาจเป็นสถานที่ ศูนย์ข้อมูล ข่าวสาร สาระความรู้ หรือ บุคคล ที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มาตรา 25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ระบุประเภทของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไว้ ดังนี้
1. ห้องสมุดประชาชน
2. พิพิธภัณฑ์
3. หอศิลป์
4. สวนสัตว์
5. สวนสาธารณะ
6. สวนพฤกษศาสตร์
7. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8. ศูนย์กีฬาและนันทนาการ

ความต้องการใช้แหล่งเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงต้องการใช้ตรงกัน ทั้ง 4 ประเภท
1. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ อากาศ แสงแดด และดิน
2. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล สมาคม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นาท้องถิ่น
ศิษย์เก่า และคหบดีผู้ประสบความสาเร็จในอาชีพ
3. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ สถาบัน หน่วยงาน ได้แก่ วัด โบสถ์ สุเหร่าหรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สถานประกอบการ มหาวิทยาลัย และแหล่งเกษตรกรรม
4. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นเทคโนโลยี กิจกรรม วัฒนธรรม และประเพณี ได้แก่ กิจกรรม โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีพื้นบ้าน ตาราเอกสารทางวิชาการ ประเพณีและวัฒนธรรม
           ส่วนแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนผู้บริหารทุกโรงต้องการใช้ตรงกัน คือ ห้องสมุดโรงเรียน และรองลงมาเป็นสวนสมุนไพร ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องแนะแนว และพิพิธภัณฑ์ตามลาดับ

รูปแบบการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประกอบด้วย
1.การใช้แหล่งทรัพยากรเรียนรู้สาหรับการศึกษาในระบบ
     เป็นรูปแบบการใช้ที่มุ่งรูปแบบการศึกษาที่กาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล
2.การใช้แหล่งทรัพยากรเรียนรู้สาหรับการศึกษานอกระบบ
      เป็นรูปแบบการใช้แหล่งการเรียนรู้เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญของการสาเร็จการศึกษา
3.การใช้แหล่งทรัพยากรเรียนรู้สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
      เป็นรูปแบบการใช้แหล่งการเรียนรู้ ที่เน้นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม 
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เกิดจากแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่งนำโดย อาจารย์ดวงแก้วพิทยากร ศิลป์ ที่สนใจการสร้างหุ่นขี้ผึ้ง และศึกษาค้นคว้าทดลองเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงประสบความสำเร็จ สามารถสร้างหุ่น ขี้ผึ้งยุคใหม่จากไฟเบอร์กลาสที่มีความคงทน ประณีต งดงาม เหมือนคนจริงที่สุด จนคณะผู้ร่วมงานเห็นสมควรที่ จะสนับสนุนให้ก้าวหน้าต่อไป เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติและศิลปินไทย จึงเริ่มโครงการก่อตั้งพิพิธ ภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ไทยในปี พ.ศ. 2525 สำหรับเป็นสถานที่สร้างและจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส เพื่อการ อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีไทย อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชน โดยปัจจุบันมีหุ่นไฟเบอร์กลาสทั้งหมด 120 รูปอาคารพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยนี้เป็นอาคารสองชั้น โดยมีการจัด แสดง ด้วยกันสองชั้นคือ ชั้นล่าง จัดแสดงหุ่นชุดต่างๆ เช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงค์จักรี, พระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, ชุดพระอริยสงฆ์, ชุดมุมหนึ่งของชีวิต เป็นต้น


พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

 กลุ่มเป้าหมายหลัก / กลุ่มผู้เรียนหลัก *บุคคลทั่วไป
 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน/กลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ *มีการจัดการแสดง จัดนิทรรศการที่มีความเป็นระเบียบเข้าใจง่าย สะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า สาธิตการทำหุ่นขี้ผึ้งไทยที่มีความปราณีตสวยงามและดูเสมือนจริง มีความเป็นมาที่สามารถเข้าใจได้ง่าย มีจัดป้ายนิทรรศการได้ให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม บางครั้งมีมัคคุเทศน์คอยอธิบายความเป็นมา เพื่อเป็นการประกอบการบรรยายไปในตัว มีการจัดแบ่งห้องแสดงต่างๆตามความเหมาะสม และความเป็นระเบียบ
รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ *การจัดนิทรรศการ มีการแบ่งแยกสัดส่วนของห้องที่จะทำการแสดงหุ่นขี้ผึ้ง แบ่งเป็นโซนและห้องดังนี้ โซนแรกคือห้องจัดแสดงพระอริยสงฆ์ ซึ่งได้แก่ พระครูภาวนารังษี, พระธรรมญาณมุนี, พระโพธิญาณเถร, ครูบาชัยวงศาพัฒนา, หลวงจีนคณาณัติจีนพรต, พระมงคลเทพมุนี, พระราชสังวราภิมณฑ์, พระสุพรหมยานเถร, พระนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาจารย์, หลวงพ่อเกษม, สมเด็จพระพุฒาจารย์, พระครูวิมลคุณากร, พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์, พระอาจารย์มั่น, ครูบาศรีวิชัย ปั้นได้เหมือนจริงมาก 
 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ห้องแสดงต่อไปซึ่งถือเป็นไฮไลด์ของที่นี่ ห้องจัดแสดงพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์พระบรมราชจักรีวงค์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 8 ล่ะ ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องจัดแสดงพระบรมรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทยนั่นเอง ภายในห้องนี้ประกอบไปด้วยประราชประวัติและ พระกรณียกิจต่างๆ และภาพงานพระราชพิธีสุดท้าย
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ห้องจัดแสดงต่อไป เป็นห้องหุ่นชุดครอบครัวไทย เป็นห้องแสดงสุดท้ายสำหรับห้องจัดแสดงชั้นล่าง ซึ่งเดินไป เดินมาจะมาออกที่ ด้านหน้าทางเข้า พวกเราก็เดินขึ้นชั้นสองกันต่อ ซึ่งห้องจัดแสดงชั้นบนแรกสุดจะเป็นการ จัดแสดงชุด 3 ครูไทยได้แก่ ครูจวงจันทร์ จันทร์คณา (บรมครูพรานบูรพ์) ครูเอื้อ สุนทรสนาน ครูไพบูลย์ บุตรขัน
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
เดินเข้าไปตามทางเดินเรื่อยๆ ห้องแสดงหุ่นชุดต่อไปคือ ชุด 3 บุคคลสำคัญของโลก ซึ่งได้แก่ มหาตมา คานธี, อับราฮัม ลินคอล์น, เซอร์ วินสตัน เชอรชิล เป็นต้น คานธีเป็นนักการเมืองที่ได้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศ จากการปกครองของอังกฤษทำให้โลก ต้องจดจำคานธี ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "มหาตมา" แปลว่า ผู้มีจิตใจ สูงส่ง เป็นบิดาแห่งประชาชนชาติอินเดีย อับราฮัม ลินคอล์น ผู้ปลดปล่อยทาสของสหรัฐอเมริกา "รัฐบาลของ ประชาชนโดย "เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล เป็นวีรบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ ซึ่งทั้งสามท่านมีบทบาททางด้านการเมืองในแต่ละประเทศ โดยส่วนตัวแล้ว เราเองเป็น คนที่ไม่ค่อยมีความรู้
ข้อมูลทั่วไปพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
เปิดเข้าชมทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 - 17.30 น. วันเสาร์- อาทิตย์ ,วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 10 บาท พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักศึกษาในเครื่องแบบ 20 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 034 332 607 และ 034 332 109

มีวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียนอย่างไร *เหมาะกับผู้เรียนทุกวัย และผู้ที่สนใจการเรียนการศึกษาค้นคว้าในเรื่องของหุ่นขี้ผึ้งต่างๆ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีพ ได้ศึกษาได้ตลอด 
สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย ได้หรือไม่อย่างไร *เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการเปิดให้เยี่ยมชมได้ต่อเนื่อง ตั้งแต่เด็กถึงวัยชรา สามารถศึกษาได้ทุกเพศทุกวัย ศึกษาได้ตลอดชีพ เป็นความรู้ที่สามารถศึกษาได้ทุกเวลา มีการยืดหยุ่นของการศึกษา




วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกสะท้อนคิดหัวข้อที่ 1 คือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

           แหล่งการเรียนรู้ทั้ง 5 แห่งนี้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สามารถศึกษาประวัติและความเป็นมาของเรื่องราวบางเรื่องที่น่าสนใจในสมัยก่อน ซึ่งคนในรุ่นปัจจุบันยังไม่เคยทราบมาก่อน เพราะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดที่เป็นต้นกำเนิดคนไทย จังหวัดที่น่าท่องเที่ยวสถานที่หนึ่ง อาทิเช่น มีทั้งวัดและสถานที่ต่างๆที่น่าศึกษาหาความรู้ และสืบเสาะแหล่งการเรียนรู้ต่างๆได้ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่มิใช่มีแต่จังหวัดอยุธยา ยังมีจังหวัดอื่นๆอีกมาหมายหลายที่ ที่เราสามารถศึกษาค้นคว้าได้ความรู้มากมาย

 "พระราชวังบางปะอิน" อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร ได้รับการบูรณะฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายในและมีพลับพลาริมน้ำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับและต้อนรับพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่างๆ เป็นครั้งคราว พระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอกและเขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นนอกใช้เป็นที่สำหรับการออกมหาสมาคมและพระราชพิธีต่างๆ ส่วนเขตพระราชฐานชั้นในใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์

 "วัดพระศรีสรรเพชญ์" เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวง เทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานคร หรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือ และอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวัง และโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
 วัดพระศรีสรรเพชญ์

 "ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ภายในศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ ศาลาพระมิ่งขวัญ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขสูง 4 ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชั้นล่าง เป็นศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯและศูนย์ศิลปาชีพอื่นๆ ทั่วประเทศ ชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3 เป็นนิทรรศการผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพชิ้นยอดเยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชั้นที่ 4 เป็นห้องประชุมสัมนา เปิดให้ชมทุกวัน วันธรรมดา 09.00 - 17.00 น. วันหยุดราชการ 09.00 - 18.00 น. (ไม่เสียค่าเข้าชม)


 "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา" ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนโรจนะ ตรงข้ามกับสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์ที่ขุดได้จากกรุวัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2504 และที่นี่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีรูปแบบการจัดแสดงแบบใหม่ คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงจำนวนไม่มากจนเกินไป และใช้แสง สี มาทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาในอดีตไว้อย่างน่าชื่นชม 



 "คุ้มขุนแผน" ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลาง ในรูปแบบเรือนคหบดีไทยสมัยโบราณ เดิมเป็นจวนสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ทรงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2437 ที่เกาะลอยบริเวณสะพานเกลือ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการมณฑล ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2483 ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ได้ย้ายจวนหลังนี้มาสร้างในบริเวณคุกนครบาลเก่าของพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งสร้างเรือนไทยเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2499 และให้ชื่อเรือนไทยนี้ว่า "คุ้มขุนแผน" ซึ่งเชื่อกันว่าขุนแผนเคยต้องโทษอยู่ในคุกแห่งนี้ 

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ศูนย์การเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย

การจัดตั้งศูนย์ในฝันจำลอง เพื่อฝึกประสบการณ์ในการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย


หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทย ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่เทคโนโลยีเข้ามาอยู่ในการดำเนินชีวิตเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือแม้แต่ของเล่นของเด็กในยุคปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำเป็นของเล่น ก็กลายเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้น และการละเล่นพื้นบ้านไทยก็ค่อยๆหายไปจากสังคมไทย เด็กในยุคปัจจุบันก็ไม่รู้จักกับของเล่นหรือการละเล่นพื้นบ้านของไทย
การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษชุดขายของพลาสติกเลียนแบบของจริง วิดีโอเกม เด็กผู้ชายก็เล่นปืน จรวด เกมกด และเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งมีขายมากมาย และมีการละเล่นหลาย ชนิดที่นิยมเล่นทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง นอกจากนั้นยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อยๆ เลื่อนหายไปทีละน้อยๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ตั้งเต ตี่ ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
ดังนั้น กลุ่มของข้าพเจ้าจึงเห็นถึงความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้านไทยจึงอยากจะ อนุรักษ์และรณรงค์ให้มีการละเล่นพื้นบ้านไทยเหล่านั้นเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป เนื่องจากการละเล่นต่างๆเหล่านั้นล้วนแต่สื่อถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของไทย ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป และการละเล่นพื้นบ้านไทยยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1.             เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละภาคของประเทศไทย
2.             เพื่อศึกษาวิธีการเล่นการละเล่นพื้นบ้านแต่ละชนิด
3.             เพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้ศึกษาและรู้จักการละเล่นพื้นบ้านของไทย
4.             เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการละเล่นพื้นบ้านไทยไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลา
เป้าหมาย
ชาวต่างชาติ ประชาชน  นักเรียน  นักศึกษา และผู้ที่สนใจการละเล่นพื้นบ้านไทย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ว่าที่เรือตรี ดร.อุทิศ  บำรุงชีพ ที่ปรึกษาโครงการ และนิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่ม402 ที่ลงทะเบียนรายวิชา 423312 การจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Center Management)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1   1.  เกิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย
2   2.  เป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รู้จักกับการละเล่นพื้นบ้านไทย
3. เป็นการอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยให้คงอยู่

เกี่ยวกับศูนย์

ประวัติความเป็นมา
                ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยบูรพาและภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่ และเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามของคนไทยเอาไว้ เนื่องจากในปัจจุบันนี้นั้นวัฒนธรรมทางด้านการละเล่นได้แปรเปลี่ยนไป ซึ่งทางผู้จัดตั้งจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมที่ดีงามควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และสืบทอดวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยต่อไป

การจัดแสดง
ห้องที่ 1 ห้องรับชมประวัติความเป็นมาของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่ให้ผู้ที่เข้าชมภายในศูนย์นั้นรับชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมาของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้าน

ห้องที่ 2 ห้อง ประวัติและความเป็นมาของการละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่จัดแสดงประวัติและความเป็นมาของการละเล่นพื้นบ้านตั้งแต่อดีตจน ถึงปัจจุบัน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

ห้องที่ 3 ห้องการละเล่นพื้นบ้านไทย โดยภายในจะมีการแบ่งการละเล่นพื้นบ้านออกเป็น 4 ภาค ได้แก่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน และภาคใต้

ห้องที่ 4 ห้องคุณค่าของการละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่จัดแสดงให้เห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ที่ได้รับจากการละเล่นพื้นบ้าน

เวลาทำการ
            วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08:00-17:00 น.  
วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 09:00-18:00 น.
วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08:00-18:00 น.

ค่าบัตรเข้าชม
เด็กอายุไม่เกิน 15 ปีเข้าชมฟรี
ผู้ใหญ่ ราคา 25 บาท

การเดินทาง
11.   ทางบกสามารถใช้บริการของรถประจำทางหมายเลขต่อไปนี้
รถโดยสารประจำทาง ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งหมอชิต หรือเอกมัย ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง รถจะจอดบริเวณแยกบางแสน มีรถให้บริการตามเส้นทาง   ถ.ลงหาดบางแสน จะผ่านหน้ามหาวิทยาลัย
22.    รถตู้ มีให้บริการ 2 จุด คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถตู้จะจอดตรงหลัง Victory Point ติดกับภัตตาคารจีน ราคา 110 บาท ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมงรังสิต รถตู้จะจอดตรงด้านหน้าเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ราคา 130 บาท ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง


สัญลักษณ์ของศูนย์


 

ความหมายของสัญลักษณ์ศูนย์
    สีน้ำตาล คือ ความเป็นไทย เป็นพื้นบ้าน  หมายถึง การละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่ศูนย์การเรียนรู้ต้องการนำเสนอ และเผยแพร่
                สีเขียว คือ ธรรมชาติ หมายถึง อุปกรณ์หรือวัสดุที่ใช้ในการละเล่นล้วนมาจากธรรมชาติ เช่น ก้านกล้วย กะลามะพร้าว  ก้อนหิน เป็นต้น
                รูปเด็ก คือ เป็นตัวแทนของเด็ก หมายถึง การที่เราอนุรักษ์ให้เด็กๆ หันมาเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งม้าก้านกล้วยเป็นการละเล่นที่นิยมมาก และเป็นที่รู้จักดี

คำขวัญ
                ศูนย์การละเล่นพื้นบ้าน  สืบสานวัฒนธรรมไทย  ร่วมใจอนุรักษ์

ภาพตัวอาคารของศูนย์


วิสัยทัศน์
 มุ่งการพัฒนาและปลูกฝังวิถีการละเล่นพื้นบ้านไทย ให้ทุกคนรู้ถึงคุณค่าของการละเล่น
พื้นบ้านไทย
นโยบาย
11.การมุ่งพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก
22.การอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านไทยให้คงอยู่
33.การปลูกฝังคุณค่าของการละเล่นพื้นบ้านไทย


วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 9

การประสานงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง


ประเภทของการประสานงานแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
1.การประสานงานภายในองค์การและภายนอกองค์การ 
การประสานงานภายในองค์การ หมายถึง การประสานงานภายในหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ ส่วนการประสานงานภายนอกองค์การเป็นการประสานงานระหว่างหน่วยงานหรือการติดต่อกับบุคลลภายนอกต่าง ๆ
2.การประสานงานในแนวดิ่ง และการประสานงานในแนวราบ
การประสานงานในแนวดิ่ง หมายถึง การประสานงานจากผู้บังคับบัญชามาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา (Top down) และการประสานงานจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา (Bottom up) ส่วนการประสานงานในแนวราบ หมายถึง การประสานงานในระดับเดียวกัน


เทคนิคการประสานงาน(Techniques Coordination)
1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การกาหนดอานาจหน้าที่และตาแหน่งงานอย่างชัดเจน
3.การสั่งการและการมอบหมายอานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การติดตามผล



จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
1.การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี

2.การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
3.การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบ

4.การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
5.การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทาให้การทางานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
6.การขาดการนิเทศงานที่ดี
7.ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
8.การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน

9.ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงาน
10.การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจ
11.ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
12.เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน







ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการประสานงานกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
1.การประสานงานเป็นกระบวนการในการบริหาร
2.การประสานงานเป็นระเบียบธรรมเนียมในการบริหารงาน
3.การประสานงานเป็นหน้าที่ของนักบริหารหรือหัวหน้างาน 


การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร

การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสาคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

ประเภทของเงินงบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

งบประมาณในการจัดการศูนย์ทรัพยากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งซึ่งประกอบด้วย
(1) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(2) หมวดค่าจ้างชั่วคราว
(3) หมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุ
(4) หมวดค่าสาธารณูปโภค
(5) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
(6) หมวดเงินอุดหนุน
(7) หมวดรายจ่ายอื่น



เงินอุดหนุนโดยอนุโลมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
1. ค่าฌาปนกิจ
2. ค่าสินบน
3. ค่ารางวัลนำจับ
4. เงินอื่น ๆ ที่สำนักงบประมาณจา กำหนดเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4


1. ระบบการบริหารงานบุคคลมีอะไรบ้าง

                1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท                                                  
2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการะคุณ


2. การจำแนกตำแหน่งมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
มี 3 ประเภท                                                                                                                                                                                         
1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสาคัญ เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ธุรการ การเงิน นิติกร วิศวกร เป็นต้น                                                                           
2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ                                                                                                                                                                                                                 
3. การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนกตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์                                                                                                                                                                                                                       


3. ขั้นตอนของการวางแผนกำลังคนมีอะไรบ้าง                                                                                               
ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกำลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ และคาดคะเนปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและแผนขององค์การ เช่น แนวโน้มของธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคต, การขยายตัวและการเจริญเติบโตขององค์การ (และคู่แข่ง), การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงสร้างองค์การ, การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดปรัชญาการบริหารในอนาคต, บทบาทของรัฐบาล, บทบาทสหภาพแรงงาน, การแข่งขันของธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ                                                                                                 
 4. การวางแผนกำลังคนที่ดีทมีอะไรบ้าง
1. ภาระงาน Workload หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
2. การออกแบบงาน Job Design เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
3. การวิเคราะห์งาน Job Analysis วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กาหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละตำแหน่ง เช่น ความสำคัญของงาน ระดับความเป็นอิสระ ตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของงาน ความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็น เพื่อกำหนดรายละเอียดของตาแหน่ง Job Description และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification                                                                                      
 4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน Job Description เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง Job Specification เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก                                                                                              6. การทำให้งานมีความหมาย Job Enrichment เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน (จิ๋วแต่แจ๋ว, เล็กดีรสโต) (Job Enlargement) เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทา                                                                                                                                                                                                   5. องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง จงอธิบาย 
1.ความเป็นผู้นำ ; เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นา 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย
 2.การจูงใจ ; มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสาเร็จในชีวิต
ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคำถามก่อนว่าพอมีเวลาหรือไม่หรือคุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม
3. การติดต่อสื่อสาร; เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอานวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง
4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน
6. ประเภทของการอำนวยการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง                                                                                                
-โดยวาจา
-โดยลายลักษณ์อักษร ได้แก่
1. ทาบันทึกข้อความ
2. หนังสือเวียน
3. คาสั่ง
4. ประกาศ
7. รูปแบบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง
1.คำสั่งแบบบังคับ
2.คำสั่งแบบขอร้อง
3.คำสั่งแบบแนะนำหรือโดยปริยาย
4.คำสั่งแบบข้อความสมัครใจ                                                                                                                                                             8. การอำนวยการที่ดีมีอะไรบ้าง
ต้องชัดเจน
ให้คำสั่งมีลักษณะแน่นอน ไม่ใช่ตามอารมณ์
ถ้าผู้รับคำสั่งมีท่าทีสงสัย ให้ขจัดความสงสัยทันที
ใช้น้ำเสียงให้เป็นประโยชน์
วางสีหน้าเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง
ใช้ถ้อยคำอย่างสุภาพ
ลดคำสั่งที่มีลักษณะห้ามการกระทำให้เหลือน้อยที่สุด
อย่าออกคำสั่งในเวลาเดียวกัน มากเกินไป
ต้องแน่ใจว่าการออกคำสั่งหลาย ๆ คำสั่ง ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง
ถ้าผู้รับปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ อย่าบันดาลโทสะ พิจารณาตนเองว่าเหตุใดคำสั่งไม่ได้ผล อย่าโยนความผิดให้ผู้รับคำสั่ง 
9. ให้นิสิตอธิบายความเชื่อมโยงการบริหารงานบุคคลกับการอำนวยการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศุนย์ทรัพยากรการเรียนอย่างไร
การอำนวยการในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ต้องพิจารณาถึงปัญหาและความก้าวหน้าของหน่วยงานโดยมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรเป็นหลักในการตัดสินใจ ดังนั้นการอำนวยการจึงต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการอำนวยการ

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัผดาห์ที่ 3 ตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้


ตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้



การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการเรียนรู้ งานบริหารทั่วไป  การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการเรียนรู้ งานบริหารทั่วไป 
                 มีความรับผิดชอบในด้านพัฒนา
 ระบบเทคโนโลยี และสารสนเทศ  ในด้าน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) ระบบเนื้อหาสาระและข้อมูลข่าวสาร (Information Contents ) การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Intellectual Personnel) การประยุกต์ระบบและทรัพยากรในระบบเพื่อกิจกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างมีองค์รวม (Integrated Applications) และรวมถึงการให้บริการ สนับสนุนการยืมสื่อ ผลิตสื่อการเรียนการสอน ซึ่งงานหลักที่รับผิดชอบทั้งหมดประกอบด้วย     
1.  งานเทคโนโลยีการศึกษา       
2.  งานบริการสำนักงานและพัฒนาบุคลากร   
3.  งานระบบเครือข่ายและสารสนเทศ        
4.   งานเทคนิคและปฎิบัติการ
งานเทคโนโลยีทางการศึกษา                 ทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอน ให้บริการจัดยืมสื่อและบริการสื่อ ผลิตสื่อการเรียนการสอน ตลอดจนสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยในการเรียนการสอน กิจกรรม กิจการพิเศษ ด้านงานการบริหารงานเทคโนโลยีการศึกษา  ด้านการบริการการศึกษา
งานบริการสำนักงาน                 ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานในด้านบริหาร ประกอบไปด้วยงานบริการและงานธุรการ งานด้านการเงินและพัสดุ งานประกันคุณภาพ  งานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  และ งานด้านการเรียนการสอน
งานระบบเครือข่ายและสารสนเทศ                 ทำหน้าที่ สนับสนุนและให้บริการการศึกษา ด้านระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศ แก่ อาจารย์ ข้าราชการ บุคลากร และนักศึกษา ซึ่งมีการจัดการ ควบคุมดูแล บำรุงรักษา ด้านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของคณะฯ ให้คำปรึกษาแก่ภาควิชาต่างๆ รวมทั้งจัดสรรรหัสอินเทอร์เน็ต (IP) และโดเมน (domain name) มีการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) และมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการบริหาร มีระบบการจัดการการเรียนการสอน (e-learning) ตลอดจน การให้บริการบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์ด้านสารสนเทศต่างๆ โดยแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้   ฝ่ายพัฒนาระบบสารสนสนเทศ ฝ่ายระบบเครือข่าย ฝ่ายเทคนิคและปฏิบัติการแหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์  วันที่ค้นข้อมูล 14 ธันวาคม 2554,เข้าถึงได้จากhttp://eits.eng.cmu.ac.th/website2010/?page_id=37
2 เป็นโครงสร้างประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบเพราะว่าเป็นศูนย์ที่พัฒนาสื่อให้ผู้สอนนำไปปรับใช้กับการสอนของตน

ตัวอย่างผังที่2โครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์วันที่ค้นข้อมูล 13 ธันวาคม 2554,เข้าถึงได้จากhttp://rise.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=7448 
2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใดเป็นประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สาหรับการศึกษาตามอัธยาศัยเพราะว่าเป็นการศึกษาที่ไม่ได้บังคับให้ไปเรียนแต่ผู้ที่ไปเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้พัฒนาตนเอง



กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 ตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา


ชื่อศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าใหม่1 นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายปรัชญา กศน. ท่าใหม่ เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น เน้นคุณธรรม นำความรู้สู่พอเพียงวิสัยทัศน์ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าใหม่ เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและจัดการให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดชีวิตพันธกิจ1.จัดการศึกษาตามความต้องการและจำเป็นให้กลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียนตามความต้องการและจำเป็น        2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต      3.ควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาพื้นฐานและการจัดการศึกษาต่อเนื่องที่จัดโดยสถานศึกษาและเครือข่าย เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายมีคุณธรรม ความรู้ และมีทักษะการดำรงชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.สร้างและกระจายโอกาสการเรียนรู้  โดยการกระจายแหล่งเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

แหล่งที่มาของศูนย์
การศึกษาตามมอัธยาศัยอำเภอท่าใหม่ จัดตั้งขึ้นเมื่อได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 27 สิงหาคม 2536 ในนามของ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าใหม่ เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลาง ครั้งแรกได้เปิดทำการอยู่ที่ วัดศรีเมือง เทศบาลตำบลหนองคล้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ต่อมา วัดบูรพาพิทยาราม ได้ให้ความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอท่าใหม่เฉลิมพระเกียรติ เป็นที่ทำการสถานศึกษา ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2541 จนถึง ปัจจุบันปัจจุบัน ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาใหม่ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 ในชื่อของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าใหม่ คำขวัญประจำอำเภอท่าใหม่  วัดเขาสุกิมลือนาม ทะเลงามเล่าขาน ตำนานเขาพลอยแหวน ดินแดนผลไม้มากมายปะการัง สะพานดังแขมหนู ฝูงพะยูนอ่าวคุ้งกระเบนวันที่ค้นข้อมูล 14 ธันวาคม 2554,เข้าถึงได้จาก




วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2 เรื่อง การจัดการ

กิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2

การจัดการ
ความหมาย
การจัดการ เป็นการดาเนินงานหรือกระบวนการใดๆ ของบุคคลตั้งแต่
2 คนขึ้นไป เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคานึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีองค์ประกอบ คือ

1.เป้าหมายที่ชัดเจน(Goal)
2.ทรัพยากรในการบริหารที่มีจากัด(Management Resources)
3.การประสานงานระหว่างกัน(Co-ordinate)
4.การแบ่งงานกันทา (Division)
สรุป
การใช้คน ทรัพยากร และเทคนิคต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานในแต่ละฝ่ายงานย่อยสาเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ หรือตามแผนงานที่วางไว้
2.1 โครงสร้างการบริหารงาน
สำนักหอสมุดแบ่งการดำเนินงานดังนี้
  • สำนักงานเลขานุการ
  • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ฝ่ายบริการสารสนเทศ
  • ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  • ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
  • ฝ่ายเอกสารและวารสาร
  • ฝ่ายโสตทัศนศึกษา


2.2 การให้บริการ
l ตอบคำถามและ        ช่วยการค้นคว้า
l แนะนำการใช้ห้องสมุด
l ฝึกอบรมการสืบค้นสารสนเทศ
l อุปกรณ์สำหรับเข้าเล่มรายงาน
-      ห้องศึกษากลุ่ม/เดี่ยว
-       Research Zone
-       Quite Zone
l บริการศูนย์การเรียนรู้      ด้วยตนเอง
l  โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม    UBC,  เครื่องเล่นวีดิโอ,     วีซีดี, ดีวีดี, เทปเสียง,     มัลติมีเดีย-ซีดีรอม
l อินเทอร์เน็ต

2.3 การดูแลรักษาทรัพยากรในสำนักหอสมุด

1.  หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทําการจัดหมวดหมู่เพื่อนําส่งขึ้นชั้น
ใหบริการนั้นจะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปกป้องและประเภทของสิ่งพิมพ์กล่าวคือจะ
คัดแยกหนังสือออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ หนังสือปกแข็ง หนังสือปกอ่อน และวิทยานิพนธ์ (ฉบับ
สําเนา)
2.  หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชํารุด ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้
งานบํารุงรักษาหนังสือดําเนินการรับมาทําความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม โดยจําแนกการ
ซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair)
การซ่อมบางส่วน (Partial repair)  และการเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding)
3.  การรบหนังสือชำรุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้จะต้องตรวจสอบเอกสารนําส่งซึ่งแนบมาให้
ถูกต้องตรงกัน เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทําการทักท้วงและนําเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไข
ให้ถูกต้องตรงกับจํานวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง
4.  สําหรับหนังสือที่ถูกส่งมารับการบำรุงรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับ
หรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชํารุดส่งซ่อมก็ตาม เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบํารุงรักษา
หนังสือจะดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคําร้องขอ                                            
5.   วัสดุที่ใช้ในการบํารุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบํารุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้